วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

น้องหนู ม.3 อาสาตอบคำถาม “ทำไมเราถึงเลือกซ้าย-ขวา”

“เอ...จะเลือกซ้ายหรือขวาดีนะ” คุณเคยตั้งคำถามกันบ้างหรือไม่ เวลาที่เราเดินเล่นหรือเดินซื้อของตามห้างสรรพสินค้าบางครั้งเราก็ตัดสินใจ ไม่ถูกว่าจะเลือกไปทางซ้ายหรือทางขวา หรือบางครั้งในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจเปลี่ยนแผนการเดินทางเราจะเลือกไป ทางไหนดี คำถามที่แสดงถึงความสงสัยในพฤติกรรมพื้นฐานของคนนี้ “น้องอร” นักเรียน ม.3 มีคำตอบ

“น้องอร” หรือ ด.ญ.อติพร เทอดโยธิน นักเรียนชั้น ม. 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน มีความสนใจในพฤติกรรมการตัดสินใจของคนเราที่จะเลือกเลือกเส้นทางซ้าย – ขวา โดยได้ตั้งข้อสังเกตว่าโดยปกติคนเรามักจะต้องมีเหตุผลในการวิเคราะห์อย่าง ถี่ถ้วนในการตัดสินใจเลือกใดๆ ก็ตามอยู่เสมอ แต่บางเมื่อเดินมาถึงทางแยกที่จะต้องเลือกระหว่างจะไปซ้ายหรือขวา เราก็จะเลือกทางใดทางหนึ่งอย่างไม่มีเหตุผลเพียงพอ น้องอรจึงอยากทราบว่าอะไรคือปัจจัยของพฤติกรรมดังกล่าว

ทั้งนี้คาดว่าผลการศึกษาการเลือกซ้าย-ขวาของคนเราจะทำให้เกิดการ ประยุกต์ใช้ประโยชน์มากมาย เช่น วางแผนทางเดินและวางตำแหน่งสินค้าในห้างสรรพสินค้า วางระบบการจราจรให้เหมาะสม วางตำแหน่งบันไดหนีไฟและทางออกฉุกเฉินในงานต่างๆ และการออกแบบอุปกรณ์ต่างๆให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของมนุษย์

วิธีการศึกษาของน้องอรคืออาศัยจากการตอบแบบสอบถามและทำการทดลองจริง กับเพื่อนๆ ที่โรงเรียนซึ่งนักเรียนชั้น ม.1-6 ของโรงเรียนสาธิตฯ ทั้งหมด 142 ต่างให้ความช่วยเหลือมาร่วมทดสอบกับน้องอร โดยมีวิธีทดสอบให้เพื่อนเดินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง และตั้งเงื่อนไขขึ้นมา 3 กรณีคือ 1.ผู้ร่วมทดลองอยู่ในสถานการณ์ที่เห็นชัดเจนว่าทั้งซ้ายและขวามีระยะจากจุด เริ่มถึงปลายทางเท่ากัน 2.ผู้ร่วมทดลองระยะจากจุดเริ่มจนถึงปลายทางนั้นระหว่างซ้ายหรือขวาที่ไกล กว่ากันเนื่องจากใช้ผ้าม่านกั้นไว้ และ 3.ทดสอบภาวะฉุกเฉินหรือตกใจ

“การ ทดสอบทำได้โดยให้ผู้เข้าทดสอบยืนอยู่ที่จุดจุดหนึ่ง แล้วผู้ควบคุมการทดลองจะแกว่งของที่แขวนลงมาจากเพดาน เข้าใส่ผู้ทดสอบตรงๆ โดยไม่บอกให้ผู้เข้าทดสอบรู้ล่วงหน้า ผลที่ได้คือ ผู้เข้าทดสอบจะตกอยู่ในภาวะฉุกเฉินที่ต้องหลบให้พ้นจากสิ่งของนั้นอย่างรวด เร็ว” น้องอรเล่าและกล่าวว่าผลการทดสอบแต่ละขั้นตอนจะถูกบันทึกไว้เพื่อนำมา วิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลพื้นฐานของผู้เข้าทดสอบ เช่น เพศ วัย ความถนัดซ้าย-ขวาของสมอง และความถนัดซ้าย-ขวาของมือ

ส่วนการการตอบแบบสอบถามนั้น น้องอรได้ตั้งคำถามในแบบสำรวจให้ผู้ตอบเลือกว่าจะตัดสินใจไปทางซ้ายหรือทาง ขวาใน 2 กรณีคือ 1.กรณีที่ผู้ตอบทราบว่าจุดหมายและปลายทางระหว่างทางเลือกซ้ายหรือขวานั้น เท่ากัน และ 2.กรณีที่ตอบไม่ทราบว่าทางซ้ายหรือขวาไกลกว่ากัน ส่วนกรณีที่ผู้ตอบอยู่ในสถานการณ์ตกใจนั้นน้องอรกล่าวว่าไม่สามารถหาข้อมูล มาสร้างคำถามได้จึงถูกตัดออกจากการสำรวจ ทั้งนี้มีนักเรียนในโรงเรียนของน้องอรตั้งแต่ชั้น ม.1-6 ร่วมตอบแบบสำรวจทั้งหมด 716 คน

หลังจากได้ผลการทดลองและผลสำรวจแล้ว น้องอรได้ใช้โปรแกรมสำหรับวิเคราะห์ทางสถิติ SPSS (Statistical Package for Social Science) ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจาก ผศ.ดร.วิวัฒน์ เรืองเลิศปัญญากุล อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงจากโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชนหรือเจเอสทีพี (JSTP) ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

จาก การทดลองพบอีกว่าคนส่วนใหญ่นิยมเลือกทางขวามากกว่าทางซ้ายในอัตราส่วนประมาณ 6:4 ยกเว้นกรณีเมื่ออยู่ในภาวะฉุกเฉินหรือตกใจ กลับมีปฏิกิริยาที่จะหลบไปทางขวาน้อยกว่าทางซ้ายด้วยสัดส่วน 4:6 และจากการหาความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจและตัวแปรอิสระ เช่น เพศ อายุ และความถนัดซ้าย-ขวาของสมองและมือ พบว่ากรณีที่คนเราต้องตัดสินใจเลือกซ้ายขวาขณะตกใจนั้นจะขึ้นอยู่กับอายุ โดยพบว่าอายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไปจะเลือกไปทางซ้ายมากกว่า และกรณีที่ไม่ทราบว่าระยะทางจากจุดใดจะไปถึงปลายทางเร็วกว่ากัน พบว่ามีความสัมพันธ์กับความถนัดซ้าย-ขวาของมือ นั่นคือคนที่ถนัดซ้ายจะเลือกไปทางซ้าย ส่วนคนที่ถนัดขวาจะเลือกไปทางขวา และยังพบข้อสังเกตอย่างชัดเจนว่าในทุกเงื่อนไขคนอายุ 12 ปีจะเลือกไปทางซ้ายถึง 54 เปอร์เซ็นต์

น้องอรเล่าว่าใช้เวลาศึกษาเรื่องนี้ 8-9 เดือนมาตั้งแต่ ม.2 พร้อมทั้งเล่าว่าในการทดลองก็อุปสรรคต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะเรื่องเวลาที่เป็นปัญหามาก เพราะจะต้องศึกษาให้เสร็จก่อนสอบปลายภาคในภาคการศึกษาที่ผ่านมา และยังมีปัญหาเรื่องความยากในการหาโปรแกรมวิเคราะห์ที่เหมาะสมกับแบบสำรวจ ที่มีคนตอบกว่า 700 ชุด และมีคำถามมากถึง 16 ข้อ แต่ก็รับความช่วยจากอาจารย์พี่เลี้ยง และความช่วยเหลือจากอาจารย์วิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนในการทดลองจำลองสถานการณ์ กับนักเรียนกว่า 200 คน

“น้อง อรโชคดีที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากทางโรงเรียน จากท่านผู้อำนวยการ ที่อนุญาตให้ใช้ห้องเรียนจำนวน 6 ห้องเป็นห้องทดสอบ และมีอาจารย์แอนดรูว ธอมป์สัน (Andrew Thompson) ซึ่งเป็นอาจารย์วิชาวิทยาศาสตร์ ให้การสนับสนุนการทดลองจริง อีกทั้งช่วยจัดห้องทดลองและดูแลนักเรียน”

สำหรับอนาคตนั้นน้องอรได้กำหนดตัวเลือกให้กับชีวิตของตัวเองขึ้นมา 3 ทางนั่นคือการเป็นกุมารแพทย์ แพทย์นักวิจัยหรือนักวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้น้องอรจะได้รับการสนับสนุนจากโครงการเจเอสทีพีให้ศึกษาต่อจนจบระดับ ปริญญาเอกในประเทศโดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ และแม้ว่าน้องอรจะเป็นลูกโทน แต่ครอบครัวก็ไม่คาดหวังอะไรเป็นพิเศษกับลูกสาวคนเดียวของบ้านคนนี้

“คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้คาดหวังอะไรกับน้องอรเป็นพิเศษ ท่านเพียงแต่อยากให้น้องอรโตขึ้นเป็นคนดี เป็นคนมีคุณค่าและมีความสุข” น้องอรกล่าวอย่างอารมณ์ดี แต่ถึงอย่างนั้นน้องอรก็ได้ทำพ่อกับแม่ภูมิใจด้วยการสอบผ่านในโครงการ โอลิมปิกวิชาการสาขาคณิตศาสตร์ซึ่งจะมีการคัดตัวต่อไป และเมื่อครั้งเรียนอยู่ ป.6 น้องอรก็สามารถคว้าเหรียญทองจากการแข่งขันคณิตศาสตร์ระดับประเทศของสถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มาได้

เห็น เยาวชนไทยมีความสามารถและยึดถือในเหตุและผลอย่างนี้ ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ก็อดชื่นชมไม่ได้ และหวังว่าเยาวชนคนอื่นๆ จะได้รับการสนับสนุนให้ได้แสดงออกในทางที่ดีอย่างนี้บ้าง

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


Party Games For Consultants
Play Pool Games
Free Full Versions Of Pc Games
Free Math Games
Free Sims Games Online
Massive Multiplayer Online Games
Naughty Flash Games
Truck Racing Games Online
Ben 10 Free Games
Flash Helicopter Game

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น